มุมภาษี – การติดอากรแสตมป์งานซ่อมแซม
กรณีบริษัทฯ เป็นบริษัทก่อสร้าง ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการติดอากรแสตมป์งานซ่อมแซม ที่มีมูลค่าเกิน 1 ล้านบาทนั้น
1.กรณีลูกค้าจะไม่ทำสัญญา ไม่ออกใบสั่งซื้อ หากไม่มีการจัดทำสัญญาจ้างซ่อม บริษัทฯไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ แต่อย่างใด
2. กรณีที่ในบางครั้งลูกค้าออกใบสั่งซื้อ แต่ส่งให้เกิน 15 วันไปแล้ว หากทางฝ่ายบริษัทฯ ไม่มีการลงนามหรือมีหนังสือโต้ตอบจนก่อให้เกิดเป็นตราสารจ้างทำของ ตามความในมาตรา 109 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ แต่อย่างใด
3. กรณีลูกค้าส่งเอกสารการสั่งซื้อทาง e-mail โดยบริษัทฯ ไม่ได้รับต้นฉบับ (ตัวจริง) เช่นนี้ ก็ถือได้ว่า ยังมิได้มีการคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
กระทำตราสารจ้างทำของ บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ แต่อย่างใดคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
4. กรณีทางบริษัทฯ แก้ไขปัญหาโดยการทำใบประเมินโดยลงวันที่ตามวันที่ได้รับแจ้งงาน โดยเซ็นรับเอกสารวันนั้น ๆ แล้วนำไปติดอากร ซึ่งตอนนี้ ทางสรรพากรไม่อนุญาตการติดแบบนี้แล้วและต้องใช้ใบสั่งซื้อตัวจริงเท่านั้นในการไปติด เช่นนี้ ถือได้ว่า ยังมิได้มีการกระทำตราสารจ้างทำของ บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ แต่อย่างใด
5. กรณีบริษัทฯ ได้ดำเนินการซ่อมแซมตามที่ตกลง ซึ่งถือว่าบริษัทฯ ได้ตกลงทำสัญญาจ้างทำของแล้ว แต่ไม่ได้มีการ “กระทำตราสาร” ที่ต้องเสียอากรแสตมป์ เมื่องานซ่อมแซมแล้วเสร็จเช่น ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ต่อมาบริษัทผู้ว่าจ้าง ออกใบสั่งจ้าง (Purchase Order) ให้แก่บริษัทฯ ในวันที่ 1 มีนาคม เนื่องจากระบบบัญชีของบริษัทผู้ว่าจ้างไม่สามารถบันทึกบัญชีได้หากไม่มี P/O ทั้งนี้เพื่อการควบคุมภายใน โดยบริษัทฯ ได้ออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) พร้อมแนบใบสั่งจ้างเรียกเก็บเงินจากบริษัท ก จำกัด ในวันที่ 1 เมษายน เช่นนี้ ใบแจ้งหนี้ตามใบสั่งจ้างเป็นหนังสือโต้ตอบระหว่างกันและก่อให้เกิดตราสารจ้างทำของ ตามมาตรา 109 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผลให้บริษัทฯ ในฐานะผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 เมษายน โดยสามารถเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ 1 เมษายน
6. การติด e-duty stamp ยังติดได้อยู่ ภายในปี พ.ศ. 2565 ตามแถลงข่าวของกรมสรรพากร