รวมคำขวัญ "วันครู" ที่รัฐบาลมอบให้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เปิดประวัติ "วันครู" ทำไมถึงตรงกับวันที่ 16 มกราคม คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“วันครู 2567” หยุดไหม และมีหยุดชดเชยหรือไม่ เช็กเลย!
16 มกราคมของทุกปี ถือเป็น “วันครู” วันสำคัญของผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้เราเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้
“ครูเปรียบเสมือนกับเรือจ้างที่คอยรับส่งลูกศิษย์ให้ถึงฝั่งอย่างปลอดภัย” จึงกลายเป็นคำเปรียบเปรยถึงผู้ให้คนนี้ ที่เรามักจะได้ยินกันจนคุ้นหู
เพราะ “ครู” คือบุคคลสำคัญ ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดวันครูขึ้น และมีการมอบคำขวัญวันครูจากบุคคลสำคัญทางการเมือง จนกลายเป็นเหมือนธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติกันมา สืบเนื่องต่อกันมา
“วันครู” เริ่มต้นขึ้นเมื่อไร
“วันครู” ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 หลังจากพระราชบัญญัติครูประกาศใช้ 12 ปีโดยสถานที่จัดงานวันครั้งแรกเกิดขึ้นในจังหวัดพระนคร และธนบุรี ที่กรีฑาสถานแห่งชาติ
จุดเริ่มต้นของการมีวันครู มาจากการเรียกร้องของครูจำนวนมาก ซึ่งความเห็นของครูที่แสดงออกมาทั้งพยายามที่จะชี้ให้เห็นความสำคัญของครูและอาชีพครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก จึงควรที่จะมีวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู เปิดโอกาสให้ครูทั้งหลายได้พักผ่อนบำเพ็ญกุศลและตลอดจนดำรงกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ของครูและการศึกษาของชาติตามสมควร
จากความต้องการและการเรียกร้องของครูดังกล่าว จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ในสมัยนั้น ได้นำเสนอในที่ประชุมผู้แทนคณะครูทั่วประเทศในคราวประชุมวิสามัญของคุรุสภา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2499 ที่ประชุมสามัญของคุรุสภามีมติเห็นชอบและให้เสนอคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาพิจารณา เพื่อกำหนดให้มีวันครูขึ้น
โดยกำหนดความมุ่งหมายไว้เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงครูบูรพาจารย์ เพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูกับประชาชน ส่วนกำหนดวันเห็นควร กำหนดให้ วันที่ 16 มกราคม ซึ่งเป็นวันประกาศพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ในราชกิจจานุเบกษา “เป็นวันครู” ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาในการประชุมเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2499 ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว และมีมติแต่ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อศึกษารายละเอียด
ต่อมาคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาในคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2499 มีมติรับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการและให้กระทรวงศึกษาธิการนำเสนอรัฐบาล เพื่อกำหนดให้วันที่ 16 มกราคม เป็นวันครูซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็นวันครู
รวมคำขวัญ “วันครู”
พ.ศ. 2521 : "การให้การศึกษาแก่คนในชาติ เป็นกระบวนการที่ต้องทำต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องระดมสรรพกำลังหลายๆ ด้านมาช่วยเหลือการศึกษา ปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ ครูซึ่งจะเป็นผู้ผลักดันให้ทุกอย่างไปสู่เป้าหมายได้ ฉะนั้นท่านทั้งหลายคงตระหนักถึงหน้าที่อันมีเกียรตินี้ ในโอกาสที่วันสำคัญอย่างยิ่งของครูได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง ข้าพเจ้าในนามของกระทรวงศึกษาธิการและประธานอำนวยการคุรุสภา ขอส่งความปรารถนาดีและความระลึกถึงเพื่อนครูทุกท่าน ทั้งนอกและในราชการขอจงประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน และขอได้โปรดตระหนักถึงหน้าที่ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของครูที่ดีสืบไป" เจ้าของคำขวัญ คือ นพ.บุญสม มาร์ติน
พ.ศ. 2523 : “เป็นครูต้องยึดถือคุณธรรมของครู” เจ้าของคำขวัญ คือ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
พ.ศ. 2524 : “ครูที่แท้ต้องทำแต่ความดี ประพฤติปฏิบัติในระเบียบแบบแผนอันสมควรกับเกียรติภูมิของตน มีความรักในลูกศิษย์และอบรมปัญญาให้ลูกศิษย์มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านวิชาการ ความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และทางด้านพลานามัย” เจ้าของคำขวัญ คือ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต
พ.ศ. 2525 : “ครูนั้น สังคมยกย่องนับถือว่าเป็นปูชนียบุคคล ทั้งนี้เพราะว่าครูเป็นผู้เสียสละ ยึดมั่นในคุณงามความดี และความถูกต้อง จึงขอให้รักษาความดีนี้ตลอดไป” เจ้าของคำขวัญ คือ ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
พ.ศ. 2526 : “อนาคตของเด็กไทย อยู่ที่ความเอาใจใส่ของครูทุกคน” เจ้าของคำขวัญ คือ ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
พ.ศ. 2527 : “ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2527 ผมขอให้เพื่อนครูที่รักทั้งหลายและสมาชิกคุรุสภาทุกท่าน ประสบความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล สัมฤทธิ์ผลอันพึงปรารถนาตลอด” เจ้าของคำขวัญ คือ นายชวน หลีกภัย
พ.ศ. 2528 : “การที่บุคคลหนึ่งจะดำรงชีวิตได้อย่างดีนั้นมิใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้เป็นครูมีแนวปฏิบัติที่ยากยิ่ง เป็นสิ่งน่าเห็นใจที่ครูจะต้องปฏิบัติโดยยึดถือความดีมีคุณธรรมระดับสูงกว่าบุคคลทั่วไป แต่ก็น่าภาคภูมิใจเมื่อครูผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา และยอมรับจากสังคมมากขึ้น จึงขอให้เพื่อนครู ทุกท่านปฏิบัติตนด้วยความเสียสละ อดทน ยึดถือความดี มีคุณธรรมเพื่อจะบังเกิด ผลดีแก่ตนเอง ชุมชน และประเทศชาติสืบไป” เจ้าของคำขวัญ คือ นายชวน หลีกภัย
พ.ศ. 2529 : “ครูคือผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้า และอยู่รอดปลอดภัย” เจ้าของคำขวัญ คือ นายชวน หลีกภัย
พ.ศ. 2530 : “ครูดีมีวินัย และคุณธรรม ย่อมน้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี” เจ้าของคำขวัญ คือ นายมารุต บุญนาค
พ.ศ. 2531 : “ครูเป็นผู้สร้าง ครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้ศิษย์เป็นคนดี” เจ้าของคำขวัญ คือ นายมารุต บุญนาค
พ.ศ. 2532 : “ครูดี มีจรรยา มุ่งค้นคว้าเพื่อพัฒนาเด็กไทย เจ้าของคำขวัญ คือ พล.อ.มานะ รัตนโกเศศ
พ.ศ. 2533 : “ครูคือผู้อุทิศทั้งชีวิตและจิตใจ ส่งเสริมเพิ่มพูนให้เยาวชนเป็นคนดี เจ้าของคำขวัญ คือ พล.อ.มานะ รัตนโกเศศ
พ.ศ. 2534 : “ครูคือผู้สร้างสรรค์ให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดี” เจ้าของคำขวัญ คือ พล.อ.มานะ รัตนโกเศศ
พ.ศ. 2535 : “ครูคือ ผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้นำเยาวชนของชาติ” เจ้าของคำขวัญ คือ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
พ.ศ. 2536 : “ครูคือนักพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อม” เจ้าของคำขวัญ คือ นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
พ.ศ. 2537 : “ครูคือ ผู้มีคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี” เจ้าของคำขวัญ คือ นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
พ.ศ. 2538 : “อุทิศเวลา รักษาคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี” เจ้าของคำขวัญ คือ นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
พ.ศ. 2539 : “ครู เป็นหัวใจของการพัฒนาคน” เจ้าของคำขวัญ คือ นายสุขวิช รังสิตพล
พ.ศ. 2540 : “ครูสร้างศิษย์ ด้วยมิตรและนำใจ ครูคือผู้ให้ เพื่อเยาวชนไทยได้พัฒนา” เจ้าของคำขวัญ คือ นายสุขวิช รังสิตพล
พ.ศ. 2541 : “ครูเป็นผู้นำทางปัญญา ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี” เจ้าของคำขวัญ คือ นายชุมพล ศิลปอาชา
พ.ศ. 2542 : "ครูเป็นผู้เบิกทางแห่งปัญญา" เจ้าของคำขวัญ คือ นายปัญจะ เกสรทอง และ
"ครูชี้ทางสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ชนเชิดบูชาพระคุณครู" เจ้าของคำขวัญ คือ นางเซียมเกียว แซ่เล้า
พ.ศ. 2542 : "ครูเป็นผู้เบิกทางแห่งปัญญา" และ"ครูชี้ทางสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ชนเชิดบูชาพระคุณครู" เจ้าของคำขวัญ คือ นางเซียมเกียว แซ่เล้า
พ.ศ. 2543 : "ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี" เจ้าของคำขวัญคือ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และ "สร้างชาติ สร้างคน ผลงานของครู ทั่วโลกรับรู้ เชิดชูบูชา" เจ้าของคำขวัญ คือ นายประจักษ์ เสตเตมิ
พ.ศ. 2544 : “พระคุณครูยิ่งใหญ่ สร้างไทยให้พัฒนา ขอบูชาคุณครู" เจ้าของคำขวัญ คือ นางสาวสุทิสา ธนบดีไพบูลย์
พ.ศ. 2545 : “สร้างคนสร้างชาติ สร้างศาสตร์ก้าวหน้า สร้างภูมิปัญญา ขอบูชาครู" เจ้าของคำขวัญ คือ นายสุเทพ วิเศษศักดิ์ศรี
พ.ศ. 2546 : “ครูให้ความรู้ ควบคู่จรรยา ปวงชนทั่วหล้า น้อมบูชาครู " เจ้าของคำขวัญ คือ นางสมปอง สายจันทร์
พ.ศ. 2547 : “ครูคือพลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู” เจ้าของคำขวัญ คือ นางสาวพรทิพย์ ศุภกา
พ.ศ. 2548 : “ครูสร้างคนสร้างชาติด้วยศาสตร์ศิลป์ ทั่วแผ่นศรัทธาบุชาครู” เจ้าของคำขวัญ คือ นายประจักษ์ หัวใจเพชร
พ.ศ. 2549 : “ครูดีเป็นศรัแผ่นดิน ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู” เจ้าของคำขวัญ คือ นางพรรณา คงสง
พ.ศ. 2550 : “สิบหกมกรา เทิดทูน พ่อแผ่นดิน ภูมินทร์บรมครู” เจ้าของคำขวัญ คือ นางสาวศันสนีย์ แสนโรจน์
พ.ศ. 2551 : “ครูของแผ่นดิน เลิศศิลป์ศาสตร์ มหาราชภูมิพลฯ ชนบูชา” เจ้าของคำขวัญ คือ นางพงษ์จันทร์ สุขเกษม
พ.ศ. 2552 : “ครูสร้างคนดี เป็นศรีแผ่นดิน ทั่วถิ่นศรัทธา บูชาคุณครู” เป็นคำขวัญที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดคำขวัญวันครู พ.ศ. 2552 ของ นางนฤมล จันทะรัตน์ จากจังหวัดกาฬสินธุ์
พ.ศ. 2553 : “น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที” เจ้าของคำขวัญ คือ นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์
พ.ศ. 2554 : “เทิดพระเกียรติทั่วหล้า บูชาครูของแผ่นดิน ภูมินทร์ภูมิพล” เจ้าของคำขวัญ คือ นางกนกอร ภูนาสูง
พ.ศ. 2555 : “บูชาครูแห่งแผ่นดิน จอมปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ สยามินทร์ ภูมิพล” เจ้าของคำขวัญ คือ นางสาวขนิษฐา อุตรโส
พ.ศ. 2556 : “แปดสิบพรรษา พระราชินี ราษฏร์รัฐภักดี ครูศรีแผ่นดิน เจ้าของคำขวัญ คือ นายสะอาด สีหภาค
พ.ศ. 2557 : “เทิดพระเกียรติทั่วหล้า กตัญญูบูชา แม่และครูแห่งแผ่นดิน” เจ้าของคำขวัญ นายธีธัช บรรณะทอง
พ.ศ. 2558 : “เกียรติครูยิ่งใหญ่ น้อมใจบูชา เลิศล้ำคุณค่า ศรัทธาพระคุณ” เจ้าของคำขวัญ คือ เด็กหญิงอนุสรา ชื่นบาล จังหวัดอ่างทอง
พ.ศ. 2559 : “อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ” เจ้าของคำขวัญคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พ.ศ. 2560 : “ชาติพัฒนา ด้วยครูดี มีคุณภาพ ศิษย์ซาบซึ้ง ในพระคุณครู”เจ้าของคำขวัญคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พ.ศ. 2561 : “ศิษย์ดี ก็ด้วยครูดี มีศรัทธา” เจ้าของคำขวัญคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พ.ศ. 2562 : “ครูดี ศิษย์ดี มีพัฒนา ก้าวหน้า สู่เทคโนโลยี”เจ้าของคำขวัญคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พ.ศ. 2563 : “ครูไทย รักศิษย์ คิดพัฒนา”เจ้าของคำขวัญคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พ.ศ. 2564 : “ครูวิถีใหม่ ใส่ใจดิจิทัล สร้างสรรค์ คุณธรรม ประจำชาติ"เจ้าของคำขวัญคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พ.ศ. 2565 : “พัฒนาครู พัฒนาเด็ก เรียนรู้สู่อานาคต"เจ้าของคำขวัญคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พ.ศ. 2566 : “ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคต”เจ้าของคำขวัญคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พ.ศ. 2567 : “ครูวางฐานคิด ส่งเสริมศิษย์สร้างสรรค์”เจ้าของคำขวัญคือ นายเศรษฐา ทวีสิน
ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย
“วันครู” กับ “วันไหว้ครู” แตกต่างกันอย่างไร ทำไมถึงต้องเป็นคนละวัน
รัฐบาลมอบคำขวัญวันครู 2567 "ครูวางฐานคิด ส่งเสริมศิษย์สร้างสรรค์"