โหวตนายก – "เสรี" เตือนอย่าปลุกม็อบ ถ้า "พิธา" ไม่ได้เป็นนายกฯ
เมื่อเวลา 13.45 นคำพูดจาก เว็บตรง PG SLOT. นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา อภิปรายว่า การอภิปรายครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากความอคติหรือความไม่ชอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แต่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ภายใน 5 ปีให้รัฐสภาชุดแรกทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
นายเสรี กล่าวย้ำว่า คำว่า เป็นบุคคลซึ่งสมควร อยากให้ที่ประชุมได้พิจารณาเป็นสำคัญ ขอกราบเรียนว่า นายพิธา ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่สมควรที่จะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
นายเสรี กล่าวอีกว่า ในฐานะที่เป็นสมาชิกวุฒิสภา ทำหน้าที่สำคัญในสภาแห่งนี้ ถูกพูดถึงเสมอว่าเราจะไม่เลือกนายพิธา ตามมติมหาชน ประชาชนที่ลงคะแนนเลือกตั้งมาให้หรือไม่ และท่านก็อธิบายพูดถึงว่า พวกเราจะไม่ทำตามมติมหาชน
ต้องทำความเข้าใจตรงนี้ว่า การเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นการเลือกตั้งที่ประชาชนให้คะแนนเลือกแต่ละพรรคมาเรียบร้อยแล้ว ส่วนตัวเชื่อว่า แต่ละพรรคการเมืองก็ต้องทำตามฉันทามติของแต่ละพรรคที่ถูกเลือกมา แต่เรายังถูกกล่าวในถ้อยคำที่รุนแรงมาตลอด แต่เราก็ให้ความเคารพในการทำหน้าที่วุฒิสภา
รัฐสภาเป็นกระบวนการอีกส่วนหนึ่งที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เป็นสำคัญว่าบุคคลที่ควรเป็นนายกฯ ต้องไม่มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด แต่วันนัดประชุมรัฐสภา ก็มีกระบวนการให้ประชาชนแสดงเจตจำนงหลายจังหวัดทั่วประเทศ
ถามว่าไม่กลัวเสียงประชาชนที่สนับสนุนนายพิธาที่อยู่นอกสภาหรือไม่ ต้องตอบครับว่ากลัวมาก กลัวเสียงที่มาข่มขู่ให้ร้าย พูดจาด่าทอเสียดสีสารพัด เราก็กลัว แต่กลัวน้อยกว่าความรู้สึกสำคัญที่เราต้องออกมาปกป้องประเทศ ปกป้องสถาบัน นี่เป็นภารกิจหน้าที่สำคัญ
นายเสรี กล่าวย้ำว่า ปรากฎการณ์สำคัญช่วง 4 ปีที่ผ่านมา วุฒิสภาถูกด่าทอมาตลอด แต่เราไม่ใส่ใจ ท่านจะคิดอย่างไรก็คิดไป แต่สิ่งที่เราทนอยู่ เพราะเราต้องการปกป้องบ้านเมือง
เราเห็นสถานการณ์บ้านเมืองนอกสภา 4 ปีที่ผ่านมา มีการกระทำผิดกฎหมายมากมาย สร้างเสรีภาพแนวคิดให้เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป ไปในแนวทางที่ผิด มีการเสนอแนวคิดให้มีการกระทำละเมิดสถาบันมากมาย จนกระทั่งปัจจุบันที่จะแก้ ม.112 เพราะมีคนถูกดำเนินคดี 272 คดี 253 คน ตัวเลขนี้มาจากสิ่งที่ท่านสนับสนุนให้เด็กเยาวชน ประชาชนคนทั้งหลาย กระทำเรื่องละเมิดสถาบัน จนปรากฎเป็นคดีมากมาย
เสียงที่จะลงคะแนนมติ อยากกราบเรียนด้วยความเคารพว่า ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้คิดจะไม่ให้ความเคารพประชาชน และหลังจากลงมติไปแล้ว หากท่านได้เสียงประชาชนสนับสนุนจนทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีได้ ก็ยินดี แต่ถ้าเสียงไม่ถึง ต้องกราบเรียนด้วยความเคารพว่า ท่านจะต้องไม่แสดงพฤติกรรมหรือการกระทำใดๆ ที่จะไปปลุกม็อบ ไปเรียกร้อง ไปดำเนินการใดๆ ให้คนในประเทศนี้ออกมาสนับสนุน ผลักดัน เรียกร้องให้ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะนี่เป็นกติกาทางรัฐธรรมนูญ
ถ้าบ้านเมืองไม่สงบเรียบร้อย ไม่ใช่ใครอื่น ก็เกิดจากที่พวกท่านไปยุยงส่งเสริมประชาชนให้กระทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย ที่ผ่านมาผมกังวลใจ สิ่งที่ท่านออกพื้นที่ต่างๆ มีคนมาห้อมล้อม เรียกท่านว่า นายกฯพิธา นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ก็เห็นว่าเป็นความต้องการของประชาชน เป็นความรัก ความเชื่อ ความศรัทธา แต่เราอยู่ในกระบวนการพิจารณาตรวจสอบความประพฤติ
ผมไม่อยากเห็นภาพที่ท่านลงพื้นที่แล้วมีประชาชนมาก้มกราบท่าน ทั้งที่ท่านยังไม่ได้เป็นนายกฯ ทำให้ผมได้คิดว่าสิ่งที่ปรากฎขึ้น เกิดจากการที่ประชาชนอยากกราบท่านจริงหรือไม่ หรือสร้างภาพ หรือจ้างคนมา ซึ่งมันไม่ควรที่จะให้ภาพเหล่านี้เกิดขึ้น ผมรู้สึกว่าจะอยู่ลำบาก จะไม่ปลอดภัยเหมือนกัน เพราะคนเชียร์ท่านมากเหลือเกิน แต่ถ้าท่านฟังผมวันนี้แล้วจะเลือกคนที่มีคุณสมบัติขัดรัฐธรรมนูญ กระทำการอันเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ม.112 ให้เป็นนายกฯ หรือครับ
นายเสรี กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า “ผมไม่เห็นด้วยที่จะให้คุณพิธา และพรรคก้าวไกล เป็นผู้บริหารประเทศ หรือเป็นนายกรัฐมนตรี”
ต่อมา นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวชี้แจงว่า กรณีที่บอกว่าเวลาลงพื้นที่แล้วมีประชาชนมากราบเท้า ส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และตนก็พยายามกราบเท้าประชาชนกลับ เพราะคิดว่าเป็นคนเท่ากัน เขาก็อธิบายว่าเป็นการบนบานศาลกล่าวให้ตนเป็นนายกฯ และก็ได้อธิบายว่าไม่มีความจำเป็นต้องทำอะไรแบบนี้
กรณีที่บอกว่ามีการยุยงเด็กสนับสนุน เป็นประเด็นที่สำคัญที่อาจจะมีความเห็นแตกต่างกันของสมาชิกรัฐสภา อาจขึ้นอยู่กับประสบการณ์ วัยวุฒิที่ต่างกัน เยาวชนคนหนุ่มสาวสมัยใหม่ ยุยงปลุกปั่นไม่ได้ เขามีความคิดของตัวเอง และการเข้าถึงข้อมูลก็แตกต่างจากคนรุ่นเรา
ส่วนกรณีที่บอกว่าเป็นการสนับสนุน เอาตำแหน่งไปประกันตัว ขอเรียนว่า สิทธิประกันตัว สิทธิเข้าถึงทนาย เป็นส่วนสำคัญในระบบยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็น คนชาติพันธุ์ที่โดนคดี คนที่ทวงคืนผืนป่าแล้วถูกคดี ส.ส.ก้าวไกล ก็มีหน้าที่ทำให้เกิดเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิ์เข้าถึงทนาย สิทธิเข้าถึงสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ไว้ก่อนหากยังไม่มีคำพิพากษาจนถึงสิ้นสุด